วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน






1
2
3
4
5
6
7
8




บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ


ติดตาม Facebook

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI
1 ความรู้เกี่ยวกับ DSI
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ
3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
4 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
5 แนวข้อสอบ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
6 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
7 แนวข้อสอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
8 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
9 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม
10 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
11 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
12 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
13 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI
ที่ https://www.facebook.com/800464513423147


แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษDepartment of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (อังกฤษDSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ประวัติ

กรมสอบสวนคดีพิเศษก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Department of Special Investigation มีชื่อย่อว่า DSI ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 มีคำสั่งย้าย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2558 ให้ พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่และไปประจำสำนักงานปลัดกระทรวง[3]

คณะกรรมการคดีพิเศษ

คณะกรรมการคดีพิเศษชุดปัจจุบัน (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)[4]
[5] 1. นายอธิคม อินทุภูติ[6] ด้านกฎหมาย และ ประธานกรรมการธุรกรรม[7]
2. ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ด้านกฎหมาย
3. นายสุเจตน์ จันทรังษ์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ด้านเศรษฐศาสตร์
5. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ด้านการเงินการธนาคาร
6. นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม ด้านความมั่นคงประเทศ
7. พลตำรวจโท ธีรจิตร์ อุตมะ ด้านการสอบสวนคดีอาญา
8. พันตำรวจเอก ดร. สีหนาท ประยูรรัตน์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
9. นายประมนต์ สุธีวงศ์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

อำนาจหน้าที่

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจดังต่อไปนี้[8]
  1. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับ ความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
  3. ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
  4. จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักบริหารกลาง
  • กองกฎหมาย
  • สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ
  • สำนักคดีการเงินการธนาคาร
  • สำนักคดีความมั่นคง
  • สำนักคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
  • สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • สำนักคดีภาษีอากร
  • สำนักคดีอาญาพิเศษ 1
  • สำนักคดีอาญาพิเศษ 2
  • สำนักคดีอาญาพิเศษ 3
  • สำนักเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
  • สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
  • สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
  • สำนักงานปฏิบัติการพิเศษ
  • สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ[9]

คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ

คดีพิเศษ หรือคดีอาชญากรรมพิเศษในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
  2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
  3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
  4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
  5. คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา
ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (19)[10] และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ. เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551)

ทำเนียบอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลตำรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 23 กันยายน พ.ศ. 2546
2. พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 9 มกราคม พ.ศ. 2550
3. นายสุนัย มโนมัยอุดม16 มกราคม พ.ศ. 2550 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
4. พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 29 กันยายน พ.ศ. 2552
5. นายธาริต เพ็งดิษฐ์29 กันยายน พ.ศ. 2552 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[1]
6. พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ)
27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
7. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ15 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ)[2]
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
8. นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (รักษาการ)[4]
9. พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (รักษาการ)[5] 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน[6]

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI
กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (อังกฤษ: DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในการสอบเข้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  การสอบเข้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI   จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
การเตรียมตัวสอบ
- การสอบข้อเขียน ในประกาศรับสมัคร จะระบุขอบเขตเนื้อหาที่ใช้สอบมาให้ ให้เอาขอบเขตนั้น ไปหาข้อมูลเนื้อหามาอ่านมาศึกษาและควรหาเนื้อหาให้กว้างและลึกกว่าที่ประกาศเพราะจะได้ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้สอบ  นอกจากนี้อย่าลืมความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่ไปสอบด้วย โดยดูตามประกาศ คุณสมัครตำแหน่งไหน ก็ไปอ่านตามนั้น หลักๆ ที่ทุกตำแหน่งต้องสอบ ก็คือ โครงสร้างกับภารกิจ (น้ำหนัก 30% )
เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ DSI ก็พอ ว่า หลักๆทำอะไรบ้าง โครงสร้างเป็นไงอ่านข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ด้วยก็ดี ถ้ามีเวลาเหลือ ก็ดูเรื่อง คดีพิเศษ ว่าคืออะไร และต่างจากคดีธรรมดายังไง (เช่น ม 21) เพราะคดีพิเศษเป็นอะไรที่คนมักจะนึกถึง เวลาพูดถึง DSI   อีกส่วนก็ความรู้ทั่วไป การเมือง เศรษฐกิจ สังคม (น้ำหนัก  20% )  อาจจะดูข่าวย้อนหลัง 3 - 4 เดือน ก็ได้  โดยหาดูได้จากพวกนิตยสารรายสัปดาห์ อย่าง มติชนรายสัปดาห์ และห้องสมุดทั่วๆไปจะเก็บเล่มย้อนหลังไว้ให้อ่าน
- การสอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับดวงด้วยว่าจะเจอกรรมการยังไง ความสามารถด้วย  หลักๆก็บุคลิกภาพ ความรู้ ความมั่นใจ ความถ่อมตัว ต้องพอดีกัน  ไม่ใช่เก่งซะจนจะเหยียบหัวกรรมการ หรือ ถ่อมตัวซะจนไม่มีอะไรดี   การสอบสัมภาษณ์มีทั้งการซักถามประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงานไปจนถึงการทดสอบความรู้ความเข้าใจความสามารถ ในตำแหน่ง และยังรวมไปถึง ความสามารถในการบริหาร จัดการ งานต่างๆ   เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรรมการอาจยกกรณีนึงมาให้ แล้วถามเราว่าจะทำยังไง ฯลฯ
เตรียม ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง หน่วยงาน และ คำถาม-คำตอบ ปกติทั่วไปของการสอบสัมภาษณ์ ให้ดีๆ

ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ   มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่  โครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงาน
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่  2 โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
(1) วิชาความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ  (60 คะแนน)
- กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สถาณการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประแทศ
(2) วิชาความรู้ความเจ้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน (40 คะแนน)
- กฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
  - วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารงานของหน่วยงาน
-   วิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายลักษณะพยาน  (100  คะแนน)

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับ DSI
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ
3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
4 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
5 แนวข้อสอบ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
6 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
7 แนวข้อสอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
8 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
9 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม
10 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
11 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
12 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
13 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม

ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าพนักงานพัสดุ
เจ้าพนักงานสื่อสาร
เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
นักจัดการงานทั่วไป
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิเทศสัมพันธ์
นายช่างไฟฟ้า